Search

หัวเว่ยมุ่งพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีที เร่งแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานดิจิทัลคุณภาพสูงในเอเชียแปซิฟิก

2020.08.03


ในโลกดิจิทัลที่ทุกสรรพสิ่งเชื่อมโยงถึงกัน อุตสาหกรรมไอซีทีจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานทักษะสูงเป็นอย่างมาก รายงานการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอซีทีของเราเผยว่า ในราวปี 2568 ร้อยละ 85 ของแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในองค์กรจะทำงานผ่านคลาวด์ ร้อยละ 86 ของบริษัททั่วโลกจะนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ และอัตราการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์จะพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 80

ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานด้านดิจิทัล แม้ว่าตลาดแรงงานจะเติบโตมากขึ้น และหากไม่มีการเตรียมรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ การขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพก็อาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันไอซีทีชั้นนำระดับโลก เรามีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านไอซีที นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราประกาศแผนระยะยาวในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากร เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกสามารถตอบสนองความต้องการแรงงานดิจิทัลที่มีทักษะสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญหลายสิบปี เราพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านแรงงานไอซีทีในเอเชียแปซิฟิกผ่าน 3 โครงการที่เราได้ริเริ่มขึ้น ได้แก่ ระบบการออกใบรับรองและมาตรฐานวิชาชีพ, Huawei ICT Academy และการแข่งขัน Huawei ICT Competition

ในการขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ ต้องการเฟ้นหาบุคลากรที่มีทั้งความรู้และทักษะที่ปรับใช้ในงานได้จริง หัวเว่ยตั้งเป้าฝึกอบรมแรงงานด้านเทคโนโลยีเน็ตเวิร์คขั้นสูงจำนวนมากผ่านกลยุทธ์พัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากร เร่งสร้างมาตรฐานความสามารถในระดับโลก ที่นำไปใช้รับรองคุณสมบัติการทำงานได้

ใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย (Huawei Certification) เป็นมาตรฐานการพัฒนาทักษะไอซีทีชั้นนำของอุตสาหกรรม และมีโครงสร้างการรับรองทักษะที่ครบถ้วน ครอบคลุมเทคโนโลยีไอซีทีถึง 11 สาขาด้วยกัน ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราได้ออกประกาศนียบัตรรับรองให้บุคลากรด้านไอซีทีไปแล้วกว่า 260,000 คนทั่วโลก และในจำนวนนี้อยู่ในเอเชียแปซิฟิก 19,000 คน โดยระบบใบรับรองที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมนี้ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับนักเรียนและบุคลากรด้านไอซีทีมีขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้นในสายอาชีพของตัวเอง



ที่หัวเว่ย เราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างแข็งขันจากมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ อีกทั้งยังต้องอาศัยโมเดลการสร้างบุคลากรที่พินิจพิเคราะห์มาเป็นอย่างดี ในปี 2556 เราได้เปิดตัว ICT Academy โครงการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและองค์กร ที่ดึงสถาบันการศึกษาระดับสูงและองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกัน

ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้ช่วยมหาวิทยาลัยบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีให้มีความรู้ความสามารถตรงตามที่อุตสาหกรรมต้องการผ่านคอร์สการเรียนด้านไอซีทีและการฝึกปฏิบัติงานจริง ICT Academy ยังได้แนะนำเทคโนโลยีไอซีทีของหัวเว่ยให้แก่นักศึกษาและเชิญชวนให้พวกเขาได้เข้าร่วมการสอบเพื่อรับใบรับรองของหัวเว่ยซึ่งจะเป็นใบเบิกทางในอาชีพแก่พวกเขา

ปัจจุบัน Huawei ICT Academy ดำเนินการอยู่ใน 72 ประเทศทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก103 แห่ง

และเพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตัวเองและเสริมทักษะการแก้ปัญหา การแข่งขัน ICT Competition ของหัวเว่ย ก็เป็นอีกช่องทางที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักศึกษาในการเพิ่มพูนความรู้ พบปะเพื่อนใหม่ และเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง ด้วยความร่วมมือกับรัฐบาล องค์กร และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เราได้จัดการแข่งขัน Huawei ICT Competition ครั้งแรกขึ้นในปี 2558 สำหรับนักศึกษาจากทั่วโลก การแข่งขันครั้งล่าสุดในปี 2562 จัดขึ้นใน 61 ประเทศทั่วโลก มีนักศึกษากว่า 100,000 คน จากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 1,600 แห่ง รวมถึงนักศึกษา 7,200 คนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก



ภายใต้โครงการ TECH4ALL ที่ต้องการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้ เรามุ่งหวังที่จะพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีให้ได้ 2 ล้านคนภายใน 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการแรงงานที่มีทักษะสูง

หัวเว่ยจะเดินหน้าร่วมมือกับพันธมิตรและมหาวิทยาลัย เพื่อลงทุนพัฒนาแรงงานด้านดิจิทัล ช่วยประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสร้างอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีที และสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ

ในวันที่ 4 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยเอเชียแปซิฟิก จะจัดงาน Asia Pacific ICT Talent Forum 2020 ขึ้น ในงานนี้จะมีการประกาศแผนใหม่ในการพัฒนาบุคลากรไอซีที เราอยากจะเชิญชวนทุกท่านมาเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ครั้งนี้ เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนกลยุทธ์ระยะยาวในการสร้างอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและโรดแมปสำหรับอุตสาหกรรม

https://e.huawei.com/my/special_topic/event/2019q4/2007-apac-ict-talent



เกี่ยวกับผู้เขียน:
มร. เฉา ไห่เฉิน (โทนี่)
ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชียแปซิฟิก

มร. โทนี่ เฉา ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ส์ จำกัด ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการบริหารและพัฒนาธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์โดยรวมของบริษัทในภูมิภาคนี้ มร. เฉา มีประสบการณ์กว่า 20 ปีในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตั้งแต่เข้าร่วมงานกับหัวเว่ยในปี 2542 เขาได้ดำรงตำแหน่งในระดับบริหารหลายตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ผู้จัดการทั่วไปของหัวเว่ยในฮ่องกง และอาร์เจนตินา

TOP